วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

ป๊อปคอร์น

ข้าวโพดคั่ว หรือป๊อปคอร์น ซึ่งเป็นอาหารที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยก่อนมาอย่างยาวนาน นั้นเป็นเพราะข้าวโพดเป็นผักสารพัดประโยชน์อาจนำมาใช้ประกอบอาหาร ต้ม ข้าวโพดย่าง หรือการคั่ว ซึ่งแต่ละชนิดมีรสชาดความอร่อยที่แตกต่างกัน อีกทั้งสารอาหารที่ได้ก็ต่างกันด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่นำมาปรุ่งแต่งรสชาด อีกทั้งราคาที่ไม่สูงหรือแพงมากนักตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันจึงทำให้ป๊อปคอร์นได้กลายเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอาหารว่างในยามกิจกรรมพิเศษต่างๆ เช่นการดูหนัง เพื่อเพิ่มอัถรสให้กับช่วงเวลาแห่งความสุกสนาน เพลิดเพลิน


ป๊อปคอร์น ยังมีสารโพลิฟีนอล ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง ที่มีมากกว่าผักหรือผลไม้บางชนิดด้วย ซึ่งป๊อปคอร์นใน 1 หน่วยบริโภคมีสารโพลิฟีนอลมีมากถึง 300 มิลลิกรัม แต่งถึงอย่างไรก็ดี สำหรับป๊อปคอร์นที่มีส่วนผสมของเนย โดยเฉพาะเนยปลอมที่ร้านอาหารหรือตามโรงภาพยนต์บางแห่งเลือกใช้นั้น ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานให้น้อยลง

โดยขั้นตอนการทำอาจทำได้หลากหลายกลเม็ด เคล็ดลับของแต่ละคน หากทำรับประทานเองที่บ้าน อาจใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้า, กระทะหรือหมอที่มีฝาปิดมิดชิดพร้อมรูระบายอากาศหรือความร้อน, เตาอบไมโครเวฟ แต่ต้องมีทักษะความรู้บ้าง เนื่องจากเป็นอาหารที่สุกแล้วจะแตกออกบางครั้งอาจพลาดมาโดนผู้ทำและระวังไหม้ เพราะใช้เวลาเพียง 3-5 นาทีเท่านั้น

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

ระบบการผลิตอาหาร ที่ใช้ในระดับสากล

         ปัจจุบันประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดภาวะอาหารขาดแคลน การเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าด้านอาหารของประเทศที่มีการผลิตภาคเกษตรกรรมเป็นหลักจึงมีความจำเป็น ทั้งเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก อย่างไรก็ดีในด้านการส่งออกปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศมีการแข่งขันและกีดกันในประเทศคู่ค้าค่อนข้างสูงและทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของลูกค้าจึงมีความได้เปรียบมากที่สุด
         การผลักดันให้สินค้าด้านอาหารมีคุณภาพตรงกับความต้องการของลูกค้า และมีความปลอดภัยสามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้นั้น จึงต้องมีการนำระบบที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปในระดับสากลมาใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร ได้แก่    
  1. หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต 
  2. ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร     
  3. ระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารมาตรฐาน ISO 22000 : 2005
         หลักเกณฑ์และวิธีที่ดีในการผลิตนั้น มุ่งเน้นการจัดการความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย ส่วนระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหารนั้น คือระบบที่ใช้เพื่อป้องกันอันตรายในอาหาร ที่เกิดจาก 3 สาเหตุ ได้แก่
  • อันตรายทางชีวภาพ หมายถึง อันตรายที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ส่วนมากเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ ปรสิต และไวรัส อันตรายทางสารเคมี เช่น สารเร่งการเจริญเติบโต ยากำจัดศัตรูพืช ปุ๋ย ยารักษาโรค รวมถึงสารพิษในธรรมชาติและสารพิษจากเชื้อจุลินทรย์ เช่น อะฟลาท็อกซิน เห็ดที่เป็นพิษ เป็นต้น
  • อันตรายทางเคมี หมายถึง อันตรายที่เกิดจากสารเคมีที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต ซึ่งปัจจุบันในสายอุตสาหกรรมการผลิตอาหารมีการนำ Food Grade Lubricant มาใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค
  • อันตรายทางกายภาพ หมายถึง อันตรายที่เกิดจากการมีวัตถุแปลกปลอมอยู่ในอาหาร เช่น เศษแก้ว เศษกระจก โลหะ ไม้ พลาสติก หิน กระดูก ก้างปลา เป็นต้น